วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Table คืออะไร ???

Table คืออะไร ???

ตารางข้อมูล (Table) คือ ออบเจ็กที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของ Microsoft Access ซึ่งส่วนใหญ่ ในหนึ่งฐานข้อมูล เรามักจะแบ่งตารางข้อมูลออกเป็นหลาย ๆ ตาราง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บในระบบ


ตัวอย่างเช่นคุณต้องการจัดเก็บ ข้อมูลสินค้า, ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลผู้จัดจำหน่าย ไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันก็จะแบ่งตารางข้อมูล (เทเบิล) ออกเป็น 3 ตาราง คือ1. ตารางข้อมูลสินค้า2. ตารางข้อมูลลูกค้า3. ตารางข้อมูลผู้จัดจำหน่าย
โดยในแต่ละตารางข้อมูล จะประกอบไปด้วย รายละเอียดของข้อมูลที่ถูกแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ เรียกว่า ฟิลด์ (Field)


:: ขั้นตอนการสร้างตารางข้อมูล
1. คลิกเลือกออบเจ็ก Tables
2. คลิกปุ่ม New เพื่อสร้างตารางข้อมูลใหม่

3. จะปรากฏไดอะล็อก เพื่อเลือกวิธีการสร้างตารางข้อมูลใหม่ซึ่งมีให้เลือกทั้งหมด 5 วิธี ได้แก่
- Datasheet View คือ การสร้างตารางข้อมูลใหม่ ในมุมมองแบบ Datasheet
- Design View คือ การสร้างตารางข้อมูลใหม่ ในมุมมอง Design
- Table Wizard คือ วิซาร์ดที่ช่วยกำหนดขั้นตอนการสร้างตารางข้อมูลโดย Access ได้จัดเตรียมตารางข้อมูลสำเร็จรูป ไว้ให้เลือกใช้มากมายตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลที่คุณต้องการ
- Import Table คือ วิซาร์ดที่ช่วยให้คุณนำข้อมูลจากฐานข้อมูลภายนอกหรือไฟล์ข้อมูลอื่น ๆ เข้ามาบันทึกลงยังฐานข้อมูลปัจจุบัน
- Link Table คือ วิซาร์ดที่ช่วยให้คุณเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลปัจจุบัน กับฐานข้อมูลภายนอก หรือไฟล์ข้อมูลอื่น ๆ
สำหรับตัวอย่างนี้ ผู้เขียนเลือกการสร้างตารางข้อมูลใหม่ ในมุมมองแบบ Datasheet ค่ะ
4. คลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มขั้นตอนการสร้างตารางข้อมูลใหม่
จะปรากฏ Datasheet (ดาต้าชีต) ดังรูป


วิธีการสร้างตารางข้อมูล ในมุมมองแบบ Datasheet นี้คุณจะต้องป้อน ตัวอย่างข้อมูล ลงในคอลัมน์ที่ต้องการจากนั้น เมื่อบันทึกตารางข้อมูลแล้ว Microsoft Access ก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปกำหนดเป็นโครงสร้างของตารางข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ Microsoft Access ได้จัดเตรียมคอลัมน์สำหรับป้อนข้อมูลมาให้ จำนวน 10 คอลัมน์ซึ่งหากข้อมูลที่คุณต้องการบันทึก มีมากกว่า 10 คอลัมน์คุณก็สามารถเพิ่มคอลัมน์ได้อีก โดย…
1. คลิกเมาส์ขวาที่บริเวณหัวคอลัมน์
2. คลิกเลือกคำสั่ง Insert Column
จะได้คอลัมน์เพิ่มขึ้นใหม่ ดังรูป

5. ป้อนตัวอย่างข้อมูล ลงในคอลัมน์ตามต้องการ



6. ตั้งชื่อคอลัมน์ โดยคลิกเมาส์ขวาบริเวณหัวคอลัมน์ที่ต้องการตั้งชื่อ
7. คลิกเลือกคำสั่ง Rename Column


8. พิมพ์ชื่อคอลัมน์ เสร็จแล้วกด Enter


9. ตั้งชื่อคอลัมน์ ให้ครบทุกคอลัมน์ (เฉพาะคอลัมน์ที่มีข้อมูล)
10. จากนั้นทำการบันทึกตารางข้อมูล โดยคลิกที่เมนู File > คลิกเลือกคำสั่ง Save


11. ตั้งชื่อตารางข้อมูล (ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะใช้ชื่อตารางข้อมูลซ้ำกันไม่ได้)
12. คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการบันทึกตารางข้อมูล



13. จะปรากฏไดอะล็อก แจ้งเตือนว่าคุณยังไม่ได้กำหนดคีย์หลัก (Primary key)พร้อมกับถามยืนยันว่า ต้องการให้แอคเซส สร้างคีย์หลักให้คุณทันทีหรือไม่ในขั้นตอนนี้ ให้คลิกปุ่ม No หากไม่ต้องการให้แอคเซสสร้างคีย์หลัก

14. เมื่อบันทึกตารางข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังภาพจากนั้นคลิกที่เมนู View > คลิกเลือกคำสั่ง Design Viewเพื่อดูโครงสร้างของตารางข้อมูล ที่แอคเซสกำหนดให้

15. จากภาพด้านล่าง เป็นโครงสร้างของตารางข้อมูล ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือField Name, Data Type, Description และ Field Propertiesโดยหลังจากที่แอคเซส ได้กำหนดโครงสร้างต่าง ๆ ให้แล้วคุณก็ยังคงสามารถแก้ไขโครงสร้างนี้ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น